สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รายการ: กบนอกกะลา ตอน: เปิดตำราความรัก แต่งงานแบบไทย

(อ่าน 2551/ ตอบ 0)

kobnara

เมื่อความรักของคนหนุ่มสาวผ่านการบ่มเพาะจนสุกงอม และตกลงพร้อมใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน สิ่งสำคัญที่ทั้งคู่จะ ต้องปฏิบัติ เพื่อให้เกียรติแก่บุพการีของคนทั้งคู่ พร้อมกับเป็นการป่าวประกาศให้คนทั่วไปได้รับทราบและเป็นสักขีพยานถึงความรัก ประเพณีขนบธรรมเนียม และความเชื่อที่เรียกว่า “พิธีแต่งงาน” จึงเข้ามาเกี่ยวข้อง

เมื่อต้นปีที่ผ่านมาทีมงานกบนอกกะลาได้รับการ์ดเชิญให้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีมงคลของคู่บ่าวสาวที่ผ่านการบ่มเพาะความรักยาวนานถึง 9 ปี ซึ่งงานมงคลในครั้งนี้ถึงแม้จะจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ในความเรียบง่ายเหล่านั้น ทุกๆ ขั้นตอนกลับซุกซ่อนความหมาย และความเชื่อตามขนบธรรมเนียมไทยได้อย่างแยบยล โดยเฉพาะในขั้นตอนเริ่มแรก ที่ฝ่ายชายจะต้องนำผู้ใหญ่ที่ตนเองเคารพมา “สู่ขอ” หญิงสาวที่ตนเองหมายปองกับทางพ่อแม่ของฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการให้เกียรติดังสำนวนไทยที่ว่า “เข้าตามตรอกออกตามประตู” เมื่อการทาบทามพูดคุยผ่านไปได้ด้วยดี ก็ต้องมีการหา “ฤกษ์” งามยามดี ตามความเชื่อของคนไทยที่ไม่ว่าจะทำการใดๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ บวชนาค ออกรถคันงาม หรือแม้แต่การก้าวย่างออกจากบ้าน ฯลฯ ก็จะต้องดูวันเวลาอันเป็นมงคล

ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมหา “ชุดแต่งงาน” ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตที่ต้องถูกกาลเทศะเหมาะสมกับพิธีการ ส่วนใหญ่จะถูกแบ่งไว้ 2 ประเภท คือชุดที่ใช้ร่วมพิธีกรรมในช่วงเช้า มีหลากหลายรูปแบบตามยุกต์สมัย แต่ยังคงความเป็นไทยได้อย่างน่าชื่นชม ที่เรียกโดยรวมว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” หรือ “ชุดไทยประยุกต์” ประเภทสุดท้าย ที่เรียกว่า “ชุดราตรี” เพราะใช้ร่วมในพิธีเลี้ยงรับแขกในภาคกลางคืน ซึ่งเป็นพิธีการร่วมสมัยได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งตะวันตก ชุดแต่งงานประเภทนี้จึงมีสีขาวและฟู่ฟ่างามสง่าเป็นพิเศษ ดุจดั่งเจ้าหญิงในเทพนิยายก็ว่าได้ ก่อนถึงวันแต่งงานหนึ่งวันซึ่งถือว่าเป็นวันสุกดิบ และเป็นวันที่วุ่นวายที่สุดวันหนึ่ง ฝั่งบ้านเจ้าสาวจะต้องจัดเตรียมสถานที่รองรับแขกในวันรุ่งขึ้น เตรียมข้าวปลาอาหารที่ใช้เลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน และแม้แต่อาหารก็ไม่วายที่จะต้องมีความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องเป็นอาหารมงคลเท่านั้น โดยจะใช้ชื่อและลักษณะเป็นตัวกำหนด

ฝั่งบ้านเจ้าบ่าว ก็จะต้องเตรียมข้าวของเครื่องคาวหวานที่เต็มไปด้วยความหมายอันเป็นมงคล มาเป็นองค์ประกอบของขบวน “ขันหมาก” เมื่อฤกษ์งามยามดีมาถึง การโหมโรงเบิกฤกษ์ด้วยเสียงประทัดและเสียงโห่ร้อง เพื่อป่าวประกาศถึงวันอันเป็นมงคลก็ดังกึกก้องจากขบวนขันหมาก ที่เคลื่อนขบวนมายังบ้านเจ้าสาว ทันทีที่ขบวนมาถึงชายคาหน้าบ้านขบวนขันหมาก จะถูกต้อนรับด้วยปราการด่านแรกที่เรียกว่า “ประตูเงินประตูทอง” ซึ่งถือว่าเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่ฝ่ายเจ้าสาวมีไว้หยอกล้อญาติๆ ของฝ่ายเจ้าบ่าว ระหว่างนี้เจ้าสาวก็ได้แต่เก็บตัวเงียบอยู่ในห้อง เพื่อรอเจ้าบ่าวมารับมาจูงมือกันเข้าสู่พิธีกรรมที่สำคัญ นั่นก็คือ “การเปิดขันหมาก” โดยมีผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายเป็นพยาน ก่อนที่ทั้งคู่จะคล้องใจกันด้วยแหวนแต่งงาน หลัง จากนั้นเข้าสู่พิธีทางสงฆ์ เพื่อเป็นสิริมงคล

ตามด้วยพิธีการทางพราหมณ์ นั่นก็คือ “การรดน้ำสังข์” หลังจากนั้นพิธีการสุดท้าย เพื่อส่งตัวเข้าหอ ที่เรียกว่า “พิธีปูเตียง” ซึ่งคนที่ทำหน้าที่ปูเตียงให้กับคู่บ่าวสาวได้นั้นใช่ว่า ใครจะทำได้ เพราะขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นการสร้างเคล็ดที่เป็นมงคลให้กับชีวิตคู่ของบ่าวสาว และเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ก็ถือว่าหนุ่มสาวทั้งคู่ได้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมได้อย่างสมบูรณ์ และได้เป็นการป่าวประกาศให้ทุกคนได้ทราบว่า เขาทั้งสองได้เป็นสามีภรรยาที่สมบูรณ์แล้ว การแต่งงานตามแบบแผนประเพณีไทย ถือได้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมและความเชื่อของคนในท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน เพียงเพื่อที่จะทำให้คู่บ่าวสาวสามารถจูงมือและเดินเคียงคู่กันไปอย่างมีความสุข ติดตามเรื่องราวความรู้ที่อบอวลไปด้วยขนบประเพณี ความเชื่อ และความรักของคนทั้งคู่ได้ในกบนอกกะลา

http://www.tvburabha.com/tvb/playoldprogram/programold_playflv.asp?flv_id=210&flv_program_id=2


เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 05/11/2017 - 02:23

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
รูปภาพ
(นามสกุลไฟล์ควรเป็น [ jpg , jpeg , gif ] และไฟล์ไม่เกิน 3 MB.)
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view